Staphylococcus aureus ชนิดต้านทานต่อเมธิซิลลิน
Staphylococcus aureus ชนิดต้านทานต่อเมธิซิลลิน

Staphylococcus aureus ชนิดต้านทานต่อเมธิซิลลิน

Staphylococcus aureus ชนิดต้านทานต่อเมธิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus; MRSA) เป็นคำเรียกของแบคทีเรียแกรมบวกกลุ่มหนึ่งที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์อื่น ๆ ของ Staphylococcus aureus โดยพบว่า MRSA นั้นเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อชนิดที่รักษายากในมนุษย์บหลายประการ MRSA หมายถึงสายพันธุ์ใด ๆ ก็ตามของ S. aureus ที่ได้เกิดการพัฒนาอาจผ่านทางการถ่ายทอดยีนแนวราบ และ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ, การต้านทานต่อยาหลายชนิด ไปถึง ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตาแลคแตม ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตาแลคแตม (β-lactam) นั้นเป็นยาในกลุ่มสเปกตรัมการออกฤทธิ์กว้าง ซึ่งรวมถึงยาเพนัมต่าง ๆ (สารที่พัฒนาจากเพนิซิลลิน เช่นเมธิซิลลิน และ ออกซาซิลลิน) และ ยาเซฟัม เช่น เซฟาโลสปอริน[1] ส่วนสายพันธุ์ที่สามารถถูกกำจัดได้ด้วยยาปฏิชีวนะเหล่านี้จะเรียกว่ากลุ่ม S. aureus ชนิดไวต่อเมธิซิลลิน (methicillin-susceptible S. aureus; MSSA)MRSA นั้นพบได้ทั่วไปตามโรงพยาบาล, ทัณฑสถาน และสถานรับเลี้ยง/ดูแลต่าง ๆ ที่ซึ่งผู้คนที่มีแผลเปิด, อุปกรณ์ชนิดทะลุทะลวงในร่างกายเช่น สายสอดท่อ และกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มาอยู่รวมกลุ่มกัน ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดการติดเชื้อที่ได้รับจากโรงพยาบาล MRSA เริ่มแรกเป็นการติดเชื้อจากโรงพยาบาล แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นชนิดได้รับจากชุมชน (community-acquired) และได้รับจากปุสัตว์ (livestock-acquired) จึงมีการใช้คำ ทนการติดเชื้อสามประเภทนี้ ได้แก่ HA-MRSA (MRSA ซึ่งได้มาจากการเข้ารับบริการทางสุขภาพหรือจากโรงพยาบาล; healthcare-associated หรือ hospital-acquired MRSA), CA-MRSA (MRSA ซึ่งได้มาจากชุมชน; community-associated MRSA) และ LA-MRSA (MRSA ซึ่งได้มาจากปศุสัตว์; livestock-associated MRSA) ทั้งแผลจากการผ่าตัดและไม่ใช่จากการผ่าตัดสามารถติดต่อ HA-MRSA ได้ทั้งคู่[1]